เผยแพร่ความรู้จากโครงการบริการวิชาการสู่สาธารณชน : เรื่อง การผลิตอาหารปลอดภัยตามมาตรฐาน GMP และการวางผังการผลิต ตามมาตรฐาน

เผยแพร่ความรู้จากโครงการบริการวิชาการสู่สาธารณชน : เรื่อง การผลิตอาหารปลอดภัยตามมาตรฐาน GMP และการวางผังการผลิต ตามมาตรฐาน



ผลการการดำเนินโครงการในภาพรวมจากการดำเนินโครงการบริการตามความต้องการของชุมชน กิจกรรมที่ 1 บริการวิชาการตามความต้องการของชุมชน ในวันที่ 5 – 6 มิถุนายน 2562 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ชุมชนวัดหนองค้อ และชุมชนบ้านหนองเลง ตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พบว่ามีการดำเนินงานดังนี้ 


ผลการดำเนินงานวันที่ 5 – 6 มิถุนายน 2562
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ได้ดำเนินการอบรมและให้ความรู้ในเรื่องการผลิตอาหารปลอดภัยตามมาตรฐาน GMP บรรยายเรื่อง ภาพรวมมาตรฐานการผลิตกุนเชียงและน้ำจิ้มจากสับปะรด และการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างไรให้ได้มาตรฐาน อย. รวมทั้งการลงมือปฏิบัติในการผลิตกุนเชียง และน้ำจิ้มจากสับปะรด สุขลักษณะ กรรมวิธี และเทคนิคในการผลิต จากการอบรมพบว่าผู้เข้าอบรมได้รับความรู้กรรมวิธีและเทคนิคต่างๆ ในการผลิตอาหารให้ได้มาตรฐาน GMP ทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สายใจ  จริยาเอกภาส อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และได้ดำเนินการอบรมโดยบรรยายและปฏิบัติการ เรื่องการวางผังการผลิตตามมาตรฐาน  GMP   โดย อาจารย์ภานุมาศ  บุญผดุง, ดร. จิรวัฒน์ สิตรานนท์ และ ดร.กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตย์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คุณเมที ส่งเสริม นักวิชาการกระทรวงสาธารณสุข บรรยายและปฏิบัติการในเรื่องการวางผังการผลิตอาหารตามมาตรฐาน GMP โดยทำการวางผังและออกแบบรายการผลิตกุนเชียงและรายการผลิตน้ำจิ้มจากสับปะรด ในอาคารผลิตอาหารของชุมชน เพื่อชุมชนจะนำไปใช้เป็นแบบแปลนในการปรับปรุงอาคารผลิต สำหรับยื่นขอเครื่องหมาย อย. ให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชนต่อไป

“ เรามาทำความเข้าใจในสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหารกัน ”
ความหมายของอาหารที่มีมาตรฐานหมายถึง อาหารที่มีคุณภาพดีมีความปลอดภัยในการบริโภคเมื่อบริโภคเข้าไปแล้วไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย
อันตราย (Hazard) หมายถึงสิ่งที่มีคุณลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพที่มีอยู่ในอาหารหรือสภาวะของอาหารที่มีศักยภาพในการก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของผู้บริโภค อันตรายและสาเหตุของการปนเปื้อนในอาหารมี 3 ประการ คือ
1. อันตรายทางกายภาพ (Physical Hazard) ได้แก่ สิ่งปลอมบนหรือสิ่งแปลกปลอม ซึ่งตามปกติ จะไม่พบในอาหารนั้นๆ เมื่อผู้บริโภครับประทานสิ่งเหล่านี้เข้าไป จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อันตรายทางด้านกายภาพนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้น จะปรากฏชัดเจนภายในเวลาไม่นาน หลังจากที่บริโภคเข้าไป ได้แก่ เศษแก้ว เศษโลหะ เศษไม้ และวัสดุอื่นๆ เป็นต้น  
2. อันตรายทางด้านเคมี (Chemical Hazard) ได้แก่ สารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย ทั้งในระยะเฉียบพลันและในระยะยาว การปนเปื้อนจากสารเคมี อาจเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของกระบวนการแปรรูปอาหาร สารเคมีบางอย่าง เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้เช่น สารฆ่าแมลงที่ใช้กับผักผลไม้ แต่สารเคมีเหล่านี้ จะไม่มีอันตรายถ้ามีการใช้และการควบคุมอย่างถูกต้อง ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ ในการใช้ก็จะเป็นการเสี่ยงต่อผู้บริโภค แต่การมีสารเคมีตกค้างไม่ได้หมายความว่าจะเป็นอันตรายเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณสารเคมีตกค้าง สารเคมีบางอย่างจะต้องมีการสะสมเป็นระยะเวลานาน กว่าจะเกิดอันตรายได้
3. อันตรายทางด้านชีวภาพ (Biological Hazard) ได้แก่ จุลินทรีย์ คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีหลายประเภท ทั้งเกิดประโยชน์ และทำให้เกิดโทษ ไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย รา และไวรัส เช่น อีโคไล ซัลโมเนลล่า สแตปฟิโลคอคคัส คลอสติเดียม และไวรัส ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อันตรายเหล่านี้อาจมาจากวัตถุดิบหรือจากขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการผลิต ผู้ผลิตอาหารจึงควรมีความรู้ความเข้าใจถึงแหล่ง และสาเหตุของการปนเปื้อนจากอันตรายเหล่านี้ และหาแนวทางการควบคุมให้เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้อันตรายเหล่านี้ปนเปื้อนไปสู่ผู้บริโภค 

“ อาจารย์ภานุมาศ  บุญผดุง ”
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

 


 

ภาพที่ 1 ปฏิบัติการกลุ่ม เรื่องการผลิตผลิตภัณฑ์และสุขลักษณะในการผลิตกุนเชียง

ภาพที่ 2 ปฏิบัติการกลุ่ม เรื่อง การผลิตผลิตภัณฑ์และสุขลักษณะในการผลิตน้ำจิ้มจากสับปะรด

ภาพที่ 3  เรื่อง การวางผังการผลิตตามมาตรฐาน GMP ณ ชุมชนบ้านหนองเลง






ระบบที่เกี่ยวข้อง

ที่อยู่ติดต่อ

Support

image3.jpg

Copyright © 2017-2022 Rajamangala University of Technology Tawan-ok. All rights reserved