กิจกรรมการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน ประจำปีการศึกษา 2561 ครั้งที่ 4

กิจกรรมการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน ประจำปีการศึกษา 2561 ครั้งที่ 4



วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2562 เวลา 9.00 น คณะกรรมการดำเนินงานกิจกรรมการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2561 ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อคัดเลือกแนวปฏิบัติที่ดีจากการนำไปใช้ และประมวลความรู้ทั้งหมดเพื่อจัดทำเป็นคู่มือการจัดการเรียนการสอนแบบ Problem-Based Learning (PBL) ณ ห้องประชุม SC103 ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา โดยกิจกรรมการจัดการความรู้ยังคงมีการดำเนินงานอยู่ในขั้นตอนที่ 2 คือการสร้างและการแสวงหาความรู้ เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากคณะกรรมการดำเนินงานกิจกรรมการจัดการความรู้ที่นำการเรียนการสอนแบบ PBL ไปปรับใช้ในแต่ละรายวิชา

ซึ่งกิจกรรมการจัดการความรู้ในครั้งนี้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปผลการดำเนินงานและตอบข้อซักถามจากคณะกรรมการการจัดการความรู้ที่นำการเรียนการสอนแบบ PBL ไปปรับใช้ในรายวิชาของแต่ละหลักสูตร จำนวน 7 ราย ได้แก่

  1. ผศ. คมกฤช กิติพร อาจารย์ผู้สอนรายวิชาการทำความเย็นและระบบห้องเย็น ปัญหาที่นำมาใช้ คือ วิทยาการในด้านการทำความเย็นมีความเจริญก้าวหน้า มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งมีความซับซ้อน ยากต่อการทำความเข้าใจ จึงต้องการโมเดลที่อธิบายกลไกการทำงาน และช่วยให้สามารถเลือกใช้ระบบการทำความเย็นให้เหมาะสมกับการใช้งานได้
  2. ผศ. ณัฐธยาน์ รุจิราธนาพัฒน์ อาจารย์ผู้สอนรายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ปัญหาที่นำมาใช้คือ นำหลักการวิเคราะห์และออกแบบระบบมาช่วยแก้ปัญหาสมุดบันทึกกิจกรรมของนักศึกษา
  3. นายอรรถนิติ  วงศ์จักร อาจารย์ผู้สอนรายวิชาขั้นตอนวิธีและโครงสร้างข้อมูล ปัญหาที่นำมาใช้ คือ สร้างโปรแกรมเพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อความที่เหมือนกัน
  4. นางสาวกรรณิการ์ พิมพ์รส อาจารย์ผู้สอนรายวิชาชีวเคมีทางสัตวแพทย์ ปัญหาที่นำมาใช้คือ การป้องกันและรักษาโรคที่เกิดกับสัตว์เลี้ยงด้วยสารชีวโมเลกุล
  5. นายมาโนช รัตนคุณ อาจารย์ผู้สอนรายวิชาเคมีอินทรีย์ ปัญหาที่นำมาใช้คือ วิกฤตพลังงานและพลังงานทดแทนจากปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์
  6. นางสาววรีภรณ์ รัตนิสสัย อาจารย์ผู้สอนรายวิชาฟิสิกส์ทั่วไป ปัญหาที่นำมาใช้ คือ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2562 การสอบ PAT 5 ที่โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ต้องหยุดชะงักลง เพราะมีกลุ่มชายฉกรรจ์กลุ่มหนึ่งบุกมายังโรงเรียนและทำร้ายนักเรียน ครู และพนักงานรักษาความปลอดภัย จนได้รับบาดเจ็บหลายคน เนื่องจากไม่พอใจที่โรงเรียนขอร้องให้ลดเสียงฉลองงานบวชที่จัดในช่วงเช้าวันเดียวกันลง การป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวซ้ำอีก เราจึงควรจัดเตรียมหาตำแหน่งของสนามสอบ เพื่อให้เกิดปัญหาเสียงรบกวนจากสถานที่ใกล้เคียงให้ได้น้อยที่สุด
  7. นางเพียงขวัญ เครือภู่ อาจารย์ผู้สอนรายวิชาฟิสิกส์เบื้องต้น ปัญหาที่นำมาใช้ คือ แนวทางในการออกแบบระบบไฟฟ้า การต่อวงจรไฟฟ้า และการเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสม เมื่อต้องสร้างที่อยู่อาศัยหรือพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ว่างเปล่าที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง

ภายหลังจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลการดำเนินงาน ประธานและคณะกรรมการได้ช่วยกันระดมความคิดและเสนอข้อคิดเห็นในการจัดทำคู่มือการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามขั้นตอนที่ 3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ และ ขั้นตอนที่ 4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้เพื่อนำไปสู่การรวบรวมและจัดทำในลำดับขั้นตอนต่อไป นั่นคือ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้และสุดท้ายคือ “การเรียนรู้”

 

Download ข้อมูล






ระบบที่เกี่ยวข้อง

ที่อยู่ติดต่อ

Support

image3.jpg

Copyright © 2017-2022 Rajamangala University of Technology Tawan-ok. All rights reserved